วันเสาร์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

กระบวนการ Translation

กระบวนการ Translation

☁ Translation เป็นกระบวนการแปลรหัส codon ที่อยู่ในสาย mRNA ให้เป็นโมเลกุลโปรตีน

☁ โดยรหัส codon จะเป็นตัวกำหนดชนิดของกรดอะมิโนที่จะนำมาต่อเป็นสาย polypeptide

☁ การแปลรหัสนั้นเกิดในบริเวณไซโตพลาสซึม(Cytoplasm) ในไมโทคอนเดรีย และคลอโรพลาสต์ ก็มี

☁ การแปลรหัสมีอยู่ 4 ขั้นตอน คือ การเริ่มต้น, การต่อสาย, การย้ายตำแหน่ง และการสิ้นสุด


☁ ไรโบโซมจะมาเกาะกับสาย mRNA ที่ด้านปลาย  5' ➡ 3'

☁ เมื่อเจอรหัสเริ่ม tRNA จะนำกรดอะมิโนที่จำเพาะกับรหัส codon มาจับกับไรโซม

☁ กรดอะมิโนตัวแรกที่นำมาต่อคือ Methionine จากนั้นไรโบโซมจะเลื่อนไป แล้วต่อสายโพลิเปปไทด์ให้ยาวขึ้น แล้ว tRNA จะหลุดออกมา

☁ เมื่อไรโบโซมเลื่อนออกไปอีก จะมี tRNA นำกรดอะมิโนชนิดใหม่มาเกาะต่อไปเรื่อยๆ

☁ ไรโบโซมจะต่อสายโพลิเปปไทด์ให้ยาวขึ้น จนกว่าจะเจอรหัสหยุด (stop codon)

โพลิไรโบโซม(polyribosome) หรือ โพลิโซม (polysome)

☁  ใน Prokaryote กระบวนการ Transcription และ Translation อาจจะเกิดขึ้นพร้อมกัน

☁  เราจะเห็นว่า จะมีสาย DNA, mRNA และไรโบโซมเกาะอยู่รวมกัน เรียกว่า Polyribosome หรือ Polysome



อ้างอิง
⚪ เอกสารประกอบการเรียน รายวิชาชีววิทยา WE BY THE BRAIN

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น