วันเสาร์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

กระบวนการ Transcription

กระบวนการ Transcription

DNA กับการสังเคราะห์โปรตีน

George Wells Beadle and Edward Lawrie Tatum
One gene - one enzyme hypothesis



☁ DNA ควบคุมการทำงานของเซลล์โดยใช้รหัสที่มีอยู่ในโมเลกุลเป็นตัวกำหนดการสร้างโปรตีน แล้วนำโปรตีนที่สร้างนั้นไปใช้ทำงานต่างๆ ในเซลล์

☁ ดังนั้น อาจกล่าวได้ว่า โปรตีนเป็นตัวเชื่อมโยงระหว่าง genotype กับ phenotype

☁ การแสดงออกของยีน (Gene expession) หมายถึง การที่ DNA ควบคุมการสร้างโปรตีน (หรือสร้าง RNA ในบางกรณี)

☁ โดยกระบวนการสังเคราะห์โปรตีนนั้นแบ่งเป็น 2 ขั้นตอน คือ
     1. Transcription (การถอดรหัส) คือ    DNA ➡ mRNA
     2. Translation (การแปลรหัส) คือ    mRNA ➡ โปรตีน

☁ การถอดรหัส (Transcription) คือ กระบวนการการสร้าง RNA จาก DNA โดยอาศัย DNA ในส่วนที่เป็นยีน(Gene) เป็นสายแม่แบบ

☁ ในการสร้าง RNA หรือการถอดรหัส เนื่องจากทั้ง RNA และ DNA ต่างเป็นกรดนิวคลีอิกซึ่งใช้ลำดับคู่เบสของนิวคลีโอไทด์(Nucleotide) เป็นส่วนที่เข้าคู่กันอย่างดี (สามารถเปลี่ยนกลับไปกลับมาได้หากมีเอนไซม์ที่เหมาะสม)

☁ รหัสที่อยู่บนสาย mRNA นั้น จะเป็นลำดับนิวคลีโอไทด์ 4 ชนิด คือ  A   U   C   G

☁ การสังเคราะห์ RNA แบ่งเป็น 3 ขั้นตอน คือ ขั้นเริ่มต้น(Initiation) ขั้นต่อสาย(Elongation) และขั้นหยุด(Termination)
            ♦ ขั้น Initiation เป็นขั้นเริ่มต้นที่ RNA polymerase จะมาจับกับ DNA สายแม่แบบตรงตำแหน่ง โปรโมเตอร์(promotor) โดยอาศัยการทำงานร่วมกันของอินนิทิเอชันแฟคเตอร์(initiationfactor) หลายชนิดซึ่งมาเกาะบริเวณโปรโมเตอร์ และเอนฮานเซอร์(enhancer) ก่อน จากนั้นจึงเหนี่ยวนำให้ RNA porymerase เข้ามาจับกับโปรโมเตอร์ และทำให้เกลียวคู่ของ DNA โป่งออกบริเวณที่มีการลอกรหัส

            ♦ ขั้น Elongation เป็นขั้นต่อสาย RNA ให้ยาวขึ้นโดยมีอีลองเกชันแฟคเตอร์(elongation factor) ช่วยในการสร้าง โดย RNA polymerase ทำหน้าที่นำนิวคลีโอไทด์เข้ามาต่อสาย RNA ในทิศทาง 5'➡ 3' บริเวณปลาย 5' ของ RNA ที่กำลังสร้างจากแยกออกจาก DNA และปล่อยให้ DNA 2 สายพันกันเป็นเกลียวดังเดิม โดยจะมีเฉพาะช่วงปลาย 3' ช่วงสั้นๆที่กำลังเติวนิวคลีโอไทด์ที่ยังพันอยู่กับ DNA และเนื่องจากยีนต่างที่ใช้เป็นแม่แบบในการคัดลอกมีตำแหน่งกระจายตัวอยู่บน DNA ทั้ง  2 สาย ดังนั้นการสังเคราะห์ RNA สามารถเกิดจึ้นพร้อมกันได้ในหลายๆ ยีนบน DNA โมเลกุลเดียว


            ♦ ขั้น Termination เป็นขั้นตอนการหยุดการสังเคราะห์สายพอลิเพปไทด์ (โปรตีน) เมื่อไรโบโซมแปลรหัสบน mRNA จนถึงรหัส UAA หรือ UAG หรือ UGA ซึ่งเป็นรหัสหยุดการสังเคราะห์กรดอะมิโน (stop codon) เนื่องจากรหัสนี้ไม่ได้แทนด้วยกรดอะมิโนใดๆ ทำให้ที่ตำแหน่ง A-site ว่าง และมีโปรตีนที่เรียกว่า release factor เข้ามาเกาะเกิด 
               การย่อยสายพอลิเพปไทด์ให้หลุดออกจาก P-site ไรโบโซมที่ตำแหน่งการย่อยออกจากกัน ทำให้การสังเคราะห์โปรตีนสิ้นสุดลง 

☁ ชนิดของ RNA 
            1. mRNA (Messenger RNA) เป็นสายเดี่ยว ช่วยนำลำเบสใน DNA ออกมาที่ cytoplasm โดย transcription บน mRNA จะมีรหัสพันธุกรรม (genetic code) เป็นเบสทีละ 3 ตัว (triplet code) เรียกว่า codon ซึ่งตามปกติ 1 codon จะแปลเป็นกรดอะมิโน 1 โมเลกุล
            2. tRNA (Transfer RNA) พบว่ามีการเข้าคู่กันของเบส ทำให้โมเลกุลเป็นรูปดอกจิก ภายในโมเลกุลมีเบส 3 ตัวเรียงเป๋็นรหัสเรียงว่า anticodon 
            3. rRNA (Ribosomal RNA) เป็นองค์ประกอบของ ribosome

☁ กรดอะมิโน โดยทั่วไปแล้ว มี 20 ชนิด แต่นิวคลีโอไทด์ใน DNA มี 4 ชนิด ถ้าใช้นิวคลีโอไทด์เพียง 1 ตัว จะสามารถสร้างกรดอะมิโนที่แตกต่างกันได้มากที่สุด 4 ชนิด แสดงว่ารหัสที่กำหนดชนิดกรดอะมิโน 1 รหัส จะต้องใช้นิวคลีโอไทด์ มากกว่า 1 ตัว

☁ รหัสพันธุกรรม (Codon) 
            ♦ codon คือ รหัสบนสาย mRNA
            ♦ ซึ่งรหัส condon เป็นรหัสที่ถูกถอดแบบออกมาจากยันของเราบน DNA
            ♦ เวลาอ่านรหัส codon เราจะอ่านทีละ 3 เบส (triplet code) 


            ♦ สาย mRNA ที่ถูกสร้างขึ้น จะมีรหัส codon ในโมเลกุล tRNA จะมีรหัส anti-codon เพื่อนำกรดอะมิโนที่จำเพาะกับรหัส codon นั้นๆ มาต่อ
            ♦ สาย mRNA จะไปเกาะกับไรโบโซม เพื่อทำการแปลรหัสต่อไป




อ้างอิง
 เอกสารประกอบการเรียน รายวิชาชีววิทยา WE BY THE BRAIN
 หนังสือชีววิทยา สำหรับนักเรียนมัธยมปลาย BIO by TENT


กระบวนการ Translation

กระบวนการ Translation

☁ Translation เป็นกระบวนการแปลรหัส codon ที่อยู่ในสาย mRNA ให้เป็นโมเลกุลโปรตีน

☁ โดยรหัส codon จะเป็นตัวกำหนดชนิดของกรดอะมิโนที่จะนำมาต่อเป็นสาย polypeptide

☁ การแปลรหัสนั้นเกิดในบริเวณไซโตพลาสซึม(Cytoplasm) ในไมโทคอนเดรีย และคลอโรพลาสต์ ก็มี

☁ การแปลรหัสมีอยู่ 4 ขั้นตอน คือ การเริ่มต้น, การต่อสาย, การย้ายตำแหน่ง และการสิ้นสุด


☁ ไรโบโซมจะมาเกาะกับสาย mRNA ที่ด้านปลาย  5' ➡ 3'

☁ เมื่อเจอรหัสเริ่ม tRNA จะนำกรดอะมิโนที่จำเพาะกับรหัส codon มาจับกับไรโซม

☁ กรดอะมิโนตัวแรกที่นำมาต่อคือ Methionine จากนั้นไรโบโซมจะเลื่อนไป แล้วต่อสายโพลิเปปไทด์ให้ยาวขึ้น แล้ว tRNA จะหลุดออกมา

☁ เมื่อไรโบโซมเลื่อนออกไปอีก จะมี tRNA นำกรดอะมิโนชนิดใหม่มาเกาะต่อไปเรื่อยๆ

☁ ไรโบโซมจะต่อสายโพลิเปปไทด์ให้ยาวขึ้น จนกว่าจะเจอรหัสหยุด (stop codon)

โพลิไรโบโซม(polyribosome) หรือ โพลิโซม (polysome)

☁  ใน Prokaryote กระบวนการ Transcription และ Translation อาจจะเกิดขึ้นพร้อมกัน

☁  เราจะเห็นว่า จะมีสาย DNA, mRNA และไรโบโซมเกาะอยู่รวมกัน เรียกว่า Polyribosome หรือ Polysome



อ้างอิง
⚪ เอกสารประกอบการเรียน รายวิชาชีววิทยา WE BY THE BRAIN

การกลายพันธุ์

การกลายพันธุ์ (Mutation)

     Mutation คือ การเปลี่ยนแปลงกระทันหันของสารพันธุกรรม อาจจะถ่ายทอดต่อไปให้รุ่นลูกได้ เช่น เกิดกับ gamete หรือเซลล์ร่างกายที่สามารถขยายพันธุ์ได้ หรือไม่ถ่ายทอด เช่น เกิดกับเซลล์ร่างกายทั่วไป อาจจะเกิดตามธรรมชาติ ซึ่งมีอัตราต่ำมาก หรือมีสารชักนำ (mutagen) ซึ่งบางชนิดเป็นสารก่อมะเร็ง โดยการ mutation แบ่งออกเป็น

        1. mutation ระดับยีน หรือ mutation เฉพาะที่ ดูจากฟีโนไทป์ และพันธุประวัติ

            1.1 การแทนที่คู่เบส (base-pair substitution) เป็นการแทนที่เบส ทำให้เกิด Poin mutation
            1.2 การเพิ่มขึ้นของเบส (insertion) เป็นการเพิ่มของนิวคลีโอไทด์ แทรกเข้าไปในสาย DNA ทำให้เกิด Frame shift mutation
            1.3 การหายไปของเบส (deletion) เป็นการขาดหายของนิวคลีโอไทด์ ในสาย DNA ทำให้เกิด Frame shift mutation

Gane mutation


        2. mutation ระดับโครโมโซม ดูจากฟีโนไทป์ พันธุประวัติ และ karyote
            2.1 เปลี่ยนแปลงโครงสร้างโครโมโซม เช่น บางส่วนหายไป, บางส่วนเพิ่มมา, บางส่วนหักแล้วต่อกลับหัวกลับหาง หรือบางส่วนไปแลกเปลี่ยนกับคู่อื่น เป็นต้น
            2.2 เปลี่ยนแปลงจำนวนโครโมโซม มักเกิดจาก non-disjunction 

ความผิดปกติของโครโมโซมร่างกาย

ความผิดปกติของโครโมโซมเพศ


อ้างอิง
⚪ เอกสารประกอบการเรียน รายวิชาชีววิทยา WE BY THE BRAIN
⚪ หนังสือ BIO by TENT สนุกกับพันธุศาสตร์



แบบทดสอบหลังเรียน

แบบทดสอบหลังเรียน



> > > CLICK HERE < < <





ผู้จัดทำ

คณะผู้จัดทำ

➡ นายวรวุฒิ   บุญศิริ (โอ)
     เกิดวันที่ 28 เดือนกันยายน พ.ศ. 2541 อายุ 17 ปี
       นักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/5 โรงเรียนสตรีสิริเกศ


➡ นางสาวชญานิศ  สุวรรณพงษ์ (จ๋า)
     เกิดวันที่ 24 เดือนเมษายน พ.ศ. 2541 อายุ 17 ปี
        นักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/5 โรงเรียนสตรีสิริเกศ


➡ นางสาวศิรประภา  กลวยทอง (แตน)
     เกิดวันที่ 13 เดือนกันยายน พ.ศ. 2540 อายุ 18 ปี
        นักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/5 โรงเรียนสตรีสิริเกศ

➡ นางสาวธัญญารัตน์ บุญสอน (กิ๊ฟท์)

     เกิดวันที่ 14 เดือนมีนาคม พ.ศ. 2541 อายุ 18 ปี
        นักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/5 โรงเรียนสตรีสิริเกศ

➡ นางสาวศิริพร  ปฎิเหตุ (เฟื่อง)
     เกิดวันที่ 15 เดือนกันยายน พ.ศ. 2540 อายุ 18 ปี
        นักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/5 โรงเรียนสตรีสิริเกศ


➡ นางสาวจันทรวดี  ศรีคำ (โบว์)
     เกิดวันที่ 16 เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2540 อายุ 18 ปี
        นักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/5 โรงเรียนสตรีสิริเกศ